Featured

8/เที่ยวมุกดาหาร/custom

ประวัติความเป็นมา ที่นี่ "มุกดาหาร" สวัสดีค่ะ

by 12:00

จังหวัดมุกดาหาร เป็นจังหวัดชายแดน อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 642 กิโลเมตร เดิมเป็นส่วนหนึงของจังหวัดนครพนม

อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดสกลนครและจังหวัดนครพนม
ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงสุวรรณเขต ประเทศลาว โดยมีแม่น้ำโขงไหลกั้นพรมแดน
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดยโสธร และจังหวัดร้อยเอ็ด
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดกาฬสินธุ์

สภาพทางภูมิศาสตร์
ด้านตะวันออกเป็นที่ราบสลับป่าไม้ ด้านตะวันตกเป็นผืนป่าบนทิวเขาภูพาน ด้านตะวันออกมีแม่น้ำโขงทอดยาวกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับลาว

การปกครองส่วนภูมิภาค
มุกดาหาร

การปกครองแบ่งออกเป็น 7 อำเภอ 53 ตำบล 493 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองมุกดาหาร
  2. อำเภอนิคมคำสร้อย
  3. อำเภอดอนตาล
  4. อำเภอดงหลวง
  5. อำเภอคำชะอี
  6. อำเภอหว้านใหญ่
  7. อำเภอหนองสูง



สถานที่สำคัญ

  • หอแก้วมุกดาหาร
  • ศาลเจ้าพ่อเจ้าฟ้ามุงเมือง
  • ศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้อง
  • วัดศรีมงคลใต้
  • วัดศรีบุญเรือง
  • สะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต)
  • อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร
  • หอยสมัยหิน
  • อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว
  • กลองมโหระทึก
  • ฐานปฏิบัติการวรพัฒน์
  • วัดภูด่านแต้
  • วัดภูพระบาทแก่นจันทน์
  • วนอุทยานภูหมู
  • อ่างเก็บน้ำชลประทานห้วยขี้เหล็ก
  • วัดบรรพตคิรี
  • น้ำตกตาดโดน
  • หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
  • แก่งกะเบา
  • วัดมโนภิรมย์
  • วัดพระศรีมหาโพธิ์
  • วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
มุกดาหาร


  • ตราประจำจังหวัด : รูปปราสาทสองนางสถิตย์ ประดิษฐานแก้วมณีมุกดาหาร
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกช้างน้าว (Ochna integerrima)
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด : ช้างน้าว (Ochna integerrima)
  • คำขวัญประจำจังหวัด : หอแก้วสูงเสียดฟ้า ผาเทิบแก่งกะเบา แปดเผ่าชนพื้นเมือง ลือเลื่องมะขามหวาน กลองโบราณล้ำเลิศ ถิ่นกำเนิดลำผญา ตระการตาชายโขง เชื่อมโยงอินโดจีน


การคมนาคม

โดยรถยนต์
มุกดาหารอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 642 กิโลเมตร ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-สระบุรี-นครราชสีมา-อำเภอบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-อำเภอโพนทอง-อำเภอคำชะอี-มุกดาหาร หรือเส้นทางกรุงเทพฯ-สระบุรี-นครราชสีมา (ทางหลวงหมายเลข 2) เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 207 ที่บ้านวัด-เลี้ยวขวาผ่านอำเภอประทาย-อำเภอพุทไธสง-อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย–อำเภอเกษตรวิสัย-อำเภอสุวรรณภูมิ แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2169 ผ่านอำเภอทรายมูล-อำเภอกุดชุม-อำเภอเลิงนกทา แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 212 ผ่านอำเภอนิคมคำสร้อย สู่จังหวัดมุกดาหาร

รถโดยสารประจำทาง
มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถโดยสารธรรมดาและรถปรับอากาศ บริษัท นครชัยแอร์ จำกัด เช่น

  • กรุงเทพฯ - มุกดาหาร
  • กรุงเทพฯ - มุกดาหาร
  • นครราชสีมา - มุกดาหาร
  • ขอนแก่น - มุกดาหาร
  • มุกดาหาร - ระยอง
  • มุกดาหาร - พัทยา - ระยอง
  • มุกดาหาร - หัวหิน
  • มุกดาหาร - แม่สอด

รถโดยสารระหว่างประเทศ
มุกดาหาร - สะหวันนะเขต บริการโดย บริษัท ขนส่ง จำกัด

การคมนาคมภายในตัวจังหวัดมุกดาหาร

  • รถสองแถว มีหลายสาย คิดค่าโดยสารตามระยะทาง
  • รถสามล้อเครื่อง คิดค่าโดยสารตามระยะทาง (เป็นรถเหมา)
  • แท็กซี่ คิดค่าโดยสารตามระยะทางบนมิเตอร์



ขอบคุณที่มาเนื้อหา : https://th.wikipedia.org/wiki/จังหวัดมุกดาหาร

น้ำตกตาดโตน จังหวัดมุกดาหาร

by 01:48
น้ำตกตาดโตน

น้ำตกตาดโตน จังหวัดมุกดาหาร เป็นน้ำตกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของจังหวัด คำว่า "ตาด" ในความหมายของภาษาอีสาน คือ "น้ำตก หรือ ลานหินที่มีน้ำไหล" ส่วนคำว่า "โตน" มีความหมายว่า "กระโดด" เมื่อรวมคำสองคำเข้าด้วยกันจึงมีความหมายได้ว่า ("น้ำตกที่สามารถกระโดดลงเล่นน้ำได้" (ตามความเข้าใจของผมเอง)) น้ำตกตาดโตน มีลักษณะเป็นน้ำตกชั้นเดียว มีน้ำไหลตลอดทั้งปี มีแนวราบยาวสวยงาม ความสูงน้ำตกประมาณ 7 เมตร กว้าง 30 เมตร มีแอ่งน้ำสำหรับเล่นน้ำได้ท่ามกลางธรรมชาติที่ร่มรื่น สวยงาม ในช่วงปลายฤดูฝนถึงฤดูร้อนน้ำจะใสไหลเย็นยิ่งชวนให้น่าลงเล่นน้ำเป็นอย่างมาก  ในบริเวณน้ำตกจะมีร้านคาราโอเกะและอาหารให้คนที่อยากเปลี่ยนบรรยากาศ และร้านค้าไว้บริการ หากต้องการซื้อของฝากติดไม้ติดมือบริเวณทางเข้าน้ำตกยังมีสินค้าพื้นบ้าน สินค้าขึ้นชื่อของอำเภอหนองสูงไว้ให้นักท่องเที่ยวได้ซื้อติดไม้ติดอีกด้วย


ที่มาเนื้อหา http://www.travel2mukdahan.com/2012/12/tat-ton-waterfall.html
รูปภาพจาก http://thai.tourismthailand.org

สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต)

by 01:43

สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต)

สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 2 (อังกฤษ: Second Thai–Lao Friendship Bridge; ลาว: ຂົວມິດຕະພາບ ລາວ-ໄທ ແຫ່ງທີສອງ) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขง เชื่อมต่อจังหวัดมุกดาหารของประเทศไทย เข้ากับแขวงสุวรรณเขตของประเทศลาว เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางเศรษฐกิจตะวันตกตะวันออก ซึ่งเริ่มจากพม่า ผ่าน ไทย ลาวและสิ้นสุดที่เวียดนาม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงของธนาคารการพัฒนาแห่งเอเชีย ซึ่งมีความยาวทั้งหมด 1600 เมตร มีความกว้าง 12 เมตร และมีช่องการจราจร 2 ช่อง[1] มูลค่าการก่อสร้างประมาณ 70 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยแหล่งทุนในการก่อสร้างเป็นเงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำจากรัฐบาลญี่ปุ่นให้กับรัฐบาลลาว 4011 ล้านเยน และให้กับรัฐบาลไทย 4079 ล้านเยน ใช้เวลาก่อสร้างตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2549

ประวัติสะพานมิตรภาพไทย-ลาว 2

ตัวสะพานเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2547 ระหว่างการก่อสร้างได้เกิดอุบัติเหตุจากเครื่องเครน ที่ทำให้ ที่ปรึกษา วิศวกรและคนงานเสียชีวิต 9 คน (ชาวไทย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และลาว) บาดเจ็บ 10 คน (ชาวไทย ญี่ปุ่น และลาว) และหายสาบสูญ 1 คน (ชาวลาว) เมื่อ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 และสะพานเปิดให้สาธารณะใช้เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ในระหว่างการขับรถมายังฝั่งไทย คนขับรถมาจากฝั่งลาวต้องเปลี่ยนฝั่งการขับ เนื่องจากประเทศลาวขับรถทางขวามือ ส่วนประเทศไทยขับรถทางซ้ายมือ ดังนั้นคนไทยเองจึงต้องเปลี่ยนฝั่งการขับรถไปเป็นทางขวาเมื่อเข้าประเทศลาวด้วยเช่นเดียวกัน และเพื่อเป็นการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2015

ขอบคุณเนื้อหา https://th.wikipedia.org/wiki/สะพานมิตรภาพไทย-ลาว_2_(มุกดาหาร-สะหวันนะเขต)

หอแก้วมุกดาหาร หรือหอแก้วมุกดาหารเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก

by 01:38
หอแก้วมุกดาหาร

หอแก้วมุกดาหาร (อังกฤษ: Ho Kaeo Mukdahan) หรือหอแก้วมุกดาหารเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก คือ หอสังเกตการณ์ที่มีความสูง 65.50 เมตร สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2539 ในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี
หอแก้วมุกดาหาร ตั้งอยู่บนถนนมุกดาหาร - ดอนตาล ห่างจากอำเภอเมืองมุกดาหาร 2 กิโลเมตร เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.00 น. -18.00 น. บัตรเข้าชม เด็กคนละ 10 บาท ผู้ใหญ่คนละ 30 บาท ส่วนฐานของหอเป็นอาคารทรง 9 เหลี่ยม ตัวอาคารแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้

ชั้นที่ 1 เป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะและวัฒนธรรม แสดงเครื่องมือเครื่องใช้ในการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน

ชั้นที่ 2 เป็นการจัดนิทรรศการประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของ 8 ชนเผ่าในจังหวัดมุกดาหาร ได้แก่

  • ไทยข่า
  • ไทยกะโซ่
  • ไทยกะเลิง
  • ชาวไทยอีสาน
  • ไทยย้อ
  • ไทยแสก
  • ไทยกุลา
  • ชาวผู้ไทย

ชั้นที่ 3-5 เป็นส่วนแกนของหอคอย

ชั้นที่ 6 เป็นหอชมทัศนียภาพ 360 องศา

ชั้นที่ 7 เป็นลูกแก้วมุกดาหาร ประดิษฐานพระพุทธรูปเนื้อเงินแท้ เรียกว่า พระพุทธนวมิ่งมงคลดาหาร และพระพุทธรูปประจำวันเกิด

ลักษณะของหอแก้วมุกดาหาร
หอแก้วมุกดาหาร เป็นหอคอยสูงที่ทันสมัยแห่งหนึ่ง และเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของจังหวัดมุกดาหาร มีความสูงจากระดับพื้นดินถึงระดับหอชมทัศนียภาพ 50 เมตร และถึงยอดลูกแก้วมุกดาหาร 15 เมตร รวมความสูงทั้งสิ้น 65.50 เมตร มีทั้งหมด 7 ชั้น

ฐานหอแก้วมุกดาหาร มีลักษณะเป็นอาคาร 2 ชั้น ทรง 9 เหลี่ยม เส้นผ่าศูนย์กลาง 40 เมตร มีทางขึ้น 3 ทาง

แกนหอคอย ตั้งแต่ชั้น 3-5 สูง 39.6 เมตร มีช่องลิฟต์และบันไดเวียนสำหรับอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการขึ้นชมทัศนียภาพโดยมีชานพักเป็นช่วงๆ เส้นผ่าศูนย์กลางตัวแกนหอคอย 6 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางช่องลิฟต์ 3 เมตร

ส่วนบนสุดจะเป็นหอชมทัศนียภาพโดยมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 18 เมตร สามารถทัศนียภาพและวิวทิวทัศน์รอบตัวเมืองมุกดาหาร และแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ส่วนลูกแก้วมุกดาหารมีลักษณะกลมสีขาวหมอกมัว ตรงกับ ลักษณะแก้วมุกดาหาร ซึ่งเป็นหนึ่งในนพรัตน์ 9 ประการในตำนานของไทย ภายในลูกแก้วมุดกาหาร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเนื้องเงินแท้บริสุทธิ์ผสมทองคำปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 50 ซ.ม. (20 นิ้ว) และพระพุทธรูปประจำวันเกิดต่าง ๆ ทั้ง 7 วัน เพื่อให้ประชาชนกราบไหว้ สักการบูชา


ขอบคุณที่มาเนื้อหา https://th.wikipedia.org/wiki/หอแก้วมุกดาหาร
รูปภาพจาก http://travel.kapook.com/view7154.html

โรงแรมริเวอร์ ฟรอนท์ มุกดาหาร

by 00:57

โรงแรมริเวอร์ ฟรอนท์ มุกดาหาร

แจ่วฮ้อนรัตติยา มุกดาหาร

by 03:17

แจ่วฮ้อนรัตติยา มุกดาหาร อร่อยครับต้องลอง
ขับเคลื่อนโดย Blogger.